พระยาราชสีหยศ (หม่อมราชวงศ์เพิก ดารากร)
มหาเสวกตรี พระยาราชสีหยศ (หม่อมราชวงศ์เพิก ดารากร) | |
---|---|
เกิด | 9 กันยายน พ.ศ. 2406 |
เสียชีวิต | 7 กันยายน พ.ศ. 2475 (68 ปี) |
สาเหตุเสียชีวิต | วัณโรค |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | หม่อมราชนิกุล |
บิดามารดา | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ |
พระยาราชสีหยศ (หม่อมราชวงศ์เพิก ดารากร) (9 กันยายน พ.ศ. 2406 - 7 กันยายน พ.ศ. 2475) เป็นบุตรของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ เป็นนัดดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเทพ และเป็นปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
หม่อมราชวงศ์เพิก ดารากร เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2406 รับราชการในกรมช่างมหาดเล็ก เป็นหม่อมอนุยันต์ศิริวงศ์ ราชินิกูล ถือศักดินา ๘๐๐ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2436[1] เลื่อนเป็นพระยาราชสีหยศ มีราชการในกรมมหาดเล็ก ถือศักดินา ๑๖๐๐ โดยได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรที่ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2462[2]ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2475 อายุ 69 ปีด้วยโรควัณโรค[3]พระราชทานเพลิงศพ ณ ปรำเชิง พระบรมบรรพต วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ในการนี้ได้พระราชทานหีบทองลายสลัก รถยนต์รับศพ กลองชะนะแดง 10 จ่าปี่ 1 ผ้าไตร 3 ไตร เงิน 1000 สตางค์ และผ้าขาว 4 พับ[4]
บรรดาศักดิ์
[แก้]- หม่อมราชวงศ์เพิก ดารากร (9 กันยายน พ.ศ. 2406 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2436)
- หม่อมอนุยันต์ศิริวงศ์ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2462)
- พระยาราชสีหยศ (8 ธันวาคม พ.ศ. 2462 - 7 กันยายน พ.ศ. 2475)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[5]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[7]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[9]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[10]
ลำดับสาแหรก
[แก้]พงศาวลีของพระยาราชสีหยศ (หม่อมราชวงศ์เพิก ดารากร) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร (หน้า ๗๙ ลำดับที่ ๑๐)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ข่าวตาย (หน้า ๒๐๔๖)
- ↑ พระราชทานเพลิงศพ (หน้า ๓๓๕๘)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๐๓, ๑ มกราคม ๒๔๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันศุกร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๓[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๖๗, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ เก็บถาวร 2022-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๓๙, ๑๘ มกราคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๘๐, ๒๑ มิถุนายน ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๗, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ พระราชทานเหรียญราชรุจิ
แหล่งข้อมูล
[แก้]- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8